POSTS
PORTFOLIO
SEARCH
SHOP
  • Your Cart Is Empty!
Your address will show here +12 34 56 78
01

Partner Certification

TOP 10 Trend

1. Serverless Computing

เทคโนโลยี Serverless Computing ช่วยให้นักพัฒนาสามารถโฟกัสการสร้างเว็บแอปพลิเคชันได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดสรรหรือบริหารจัดการทรัพยากร IT และเมื่อทรัพยากรเริ่มร่อยหรอ ก็สามารถเขียนโค้ดเพื่อแจ้งเตือน Cloud Provider ให้เพิ่มทรัพยากรแทนได้ คาดการณ์ว่า Serverless Computing จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้แก่องค์กรและประหยัดค่าใช้จ่ายลง โดยในปี 2019 จะเริ่มเห็นองค์กรใช้ Serverless Computing มากขึ้น และจะเป็นที่แพร่หลายภายในปี 2022

2. การใช้ AI ภายใน Operations

เมื่อระบบ IT ขยายตัว AI จะกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยฝ่าย IT ในการบริหารจัดการทรัพยากรแทนที่จะต้องจ้างคนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการทำงานโดยอัตโนมัติ หรือการลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การใช้ AI ในส่วน Operation ยังช่วยระบุเหตุการณ์ Data Breach แจ้งเตือนอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด และปรับปรุงประสิทธิภาพของ Infrastructure ให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การนำ AI เข้ามาใช้ไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยกเลิกการจ้างงานแต่อย่างใด

3. ความคล่องตัวของระบบเครือข่าย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบเครือข่ายเป็นหัวใจสาหรับของ IT และธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Cloud Services, IoT หรือ Edge Services ต่างต้องอาศัยระบบเครือข่ายทั้งนั้น ทีมเครือข่ายจึงเน้นการเพิ่ม Availability และการปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง AI จะเข้ามาช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้ระบบเครือข่ายผ่านการทา Automation และ Orchestration นอกจากนี้ การมาถึงของ 5G และ Edge Computing ในปี 2019 ยังทาให้ทีมเครือข่ายต้องประสานงานกับฝั่งธุรกิจมากขึ้นเพื่อให้ระบบขององค์กรพร้อมรองรับความต้องการและโอกาสใหม่ที่กาลังจะเกิดขึ้น

4. การจากไปของ Data Center

Gartner คาดการณ์ไว้ว่า 80% ขององค์กรจะปิด Data Center เดิมลงภายในปี 2025 ซึ่งปัจจุบันนี้มีราว 10% ที่ปิดตัวลงไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าศูนย์รวมข้อมูลไม่มีความจาเป็นอีกต่อไปเมื่อทุกอย่างกาลังย้ายไปสู่ระบบ Cloud ในขณะที่ผู้บริหารฝ่าย IT จาเป็นต้องเริ่มคิดแล้วว่า ต่อไป Workload ขององค์กรจะถูกเก็บไว้ที่ไหนจึงจะตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจ กฎหมาย และอธิปไตยของข้อมูล (เช่น ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และ GDPR)

5. Edge Computing

ปัญหาใหญ่ของสถาปัตยกรรมแบบ Cloud คือ Latency เนื่องจากระบบ Cloud และลูกค้าอยู่ห่างกันมาก Edge Computing ช่วยทาให้ Workload ถูกประมวลผลใกล้กับลูกค้ามากขึ้นเพื่อลด Latency ตอบโจทย์ความต้องการในการประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ และมอบประสบการณ์เชิงดิจิทัลคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้า คาดการณ์ว่า Edge Computing จะให้บริการอย่างแพร่หลายในช่วงปี 2020 – 2023

6. Digital Diversity Management

การบริหารจัดการความหลากหลายเชิงดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวข้องกับคนหรือผู้ใช้ แต่เป็นการบริหารจัดการทรัพย์สินและเทคโยโลยีดิจิทัลที่ผุดขึ้นมาจานวนมากในองค์กรสมัยใหม่ที่ทา Digital Transformation ไม่ว่าจะเป็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ประสิทธิภาพการใช้งาน หรือประเด็นที่น่าเป็นห่วงอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจทรัพย์สินดิจิทัลเหล่านั้นได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และทางานได้อย่างที่ควรจะเป็น

7. หน้าที่ใหม่ใน Infrastructure และ Operations

เนื่องจาก IT เริ่มเปลี่ยนไปใช้บริการ Cloud Services มากขึ้น พนักงานใน Data Center จึงเริ่มทาหน้าที่เป็นนายหน้าด้านเทคโนโลยีแทนที่จะเป็นเจ้าของ ส่งผลให้พนักงานเหล่านี้จาเป็นต้องมีทักษะใหม่ เช่น การรวบรวม ปรับแต่ง ผสานระบบ และกากับดูแล รวมไปถึงสามารถลดความซับซ้อนของระบบ และค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันลง ตัวชี้วัดความสามารถของพนักงาน (KPI) ก็ควรปรับเปลี่ยนตามลักษณะการทางานแบบใหม่นี้ด้วย

8. การปฏิเสธ SaaS

ถึงแม้ว่า SaaS จะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของหลายๆ องค์กร แต่พนักงาน IT ส่วนใหญ่ยังคงไม่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ SaaS และเน้นไปที่ IaaS และ PaaS มากกว่า การเปลี่ยนไปใช้ SaaS จาเป็นต้องได้รับแรงสนุนจากฝ่าย IT ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ที่ฝ่าย IT จะต้องรับผิดชอบในการผสานรวม SaaS และส่งมอบบริการให้ได้ตามความต้องการของธุรกิจ รวมไปถึงด้านความมั่นคงปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ คาดการณ์ว่า SaaS จะเป็นประเด็นสาคัญจนถึงปี 2021

9. การบริหารจัดการความเชี่ยวชาญกลายเป็นประเด็นสาคัญ

ถึงแม้ว่าองค์กรจะยังต้องการผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกในแต่ละด้าน แต่เพื่อให้ประสบความสาเร็จในการพัฒนา Hybrid Infrastructure องค์กรจาเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญแบบรอบด้านที่ทราบถึงความสัมพันธ์และผลกระทบของเทคโนโลยีแต่ละประเภท รวมไปถึงเปลี่ยนวิถีการทางานจากต่างฝ่ายต่างทา ให้กลายเป็นการทางานร่วมกันเพื่อเชื่อมต่อแต่ละเทคโนโลยีเข้าด้วยกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

10. การสร้าง Infrastructure ระดับโลก
เมื่อลูกค้าและซัพพลายเออร์ขององค์กรกระจายไปสู่ทั่วโลก ผู้บริหารฝ่าย IT จาเป็นต้องสร้าง Infrastructure เพื่อให้บริการได้ทุกหนทุกแห่ง การบริหารจัดการ Infrastructure ระดับโลกโดยไม่มีการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์อาจก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายปริมาณมหาศาล ฝ่าย IT จึงกลายเป็นกุญแจสาคัญในการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างพาร์ทเนอร์ และผสานการทางานเข้าด้วยกันกับ Infrastructure ของตน